ความรุนแรงของพายุทอร์นาโดมีกี่ระดับ

ความรุนแรงของพายุทอร์นาโดมีกี่ระดับ

ความรุนแรงของพายุทอร์นาโดมีกี่ระดับ

พายุเป็นสิ่งที่สร้างความหวาดกลัวให้กับผู้คนมาหลายร้อยปี หลายคนเชื่อว่ามันเป็นการลงโทษจากพระเจ้า บางส่วนก็เชื่อว่าธรรมชาติกำลังเล่นงานพวกเรา พวกมันมาในหลากหลายขนาด หลายความเร็ว มีอันตรายหลายระดับ แต่ไม่ว่าจะระดับไหนก็รุนแรงพอที่จะสร้างความเสียหายกับบ้านเรือนได้หลายร้อยหลัง พวกเรามีวิธีวัดความแรงของพายุทอร์นาโดได้หลายระดับ แต่ที่ได้รับความนิยมสุดคือ Fujita Scale มีทั้งหมดด้วยกัน 0 – 5 ระดับ ได้แก่

1.ระดับ 0 ความเร็วลมที่ 105 – 137 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สร้างความเสียหายเล็กน้อย: แผ่นกระเบื้องหลุดหรือบางส่วนของหลังคาหลุดออก

2.ระดับ 1 ความเร็วลมที่ 138 – 178 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สร้างความเสียหายปานกลาง: ความเสียหายอย่างหนักในส่วนของหลังคา หน้าต่างแตก ประตูด้านนอกเสียหายหรือสูญหาย

3.ระดับ 2 ความเร็วลมที่ 179 – 218 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สร้างความเสียหายอย่างมาก: หลังคาฉีกออกจากบ้าน บ้านหลุดออกจากรากฐาน

4.ระดับ 3 ความเร็วลมที่ 219 – 266 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สร้างความเสียหายรุนแรง: อาคารบ้านเรือนทั้งหลังถูกทำลาย สร้างความเสียหายให้กับอาคารขนาดใหญ่

5.ระดับ 4 ความเร็วลมที่ 267 – 322 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สร้างความเสียหายรุนแรง: บ้านพังยับเยิน รถยนต์ถูกโยนลอยขึ้นไปในอากาศ

6.ระดับ 5 ความเร็วลมมากกว่า 322 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง: บ้านที่มีโครงสร้างรากฐานดีถูกทำลาย โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเหล็กได้รับความเสียหาย

ประวัติความของผู้คิดค้นวิธีวัดความแรงพายุ

หลายปีก่อนการคิดคันเครื่องมือ Doppler Radar นักวิทยาศาสตร์ไม่มีอะไรมากไปกว่าการคาดเดาจากการศึกษาเกี่ยวกับความเร็วของลมในพายุทอร์นาโด หลักฐานเดียวที่บ่งบอกถึงความเร็วลมที่พบในพายุทอร์นาโดคือความเสียหายที่เกิดจากพายุทอร์นาโดซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่ บางคนเชื่อว่าพวกมันมีความเร็วสูงถึง 400 mph (640 กิโลเมตร/ชั่วโมง) คนอื่นคิดว่าอาจเกิน 500 ไมล์ต่อชั่วโมง (800 กิโลเมตร/ชั่วโมง) และบางทีอาจจะมีความเร็วเหนือเสียง แต่ก็ยังไม่มีใครที่มีการคาดเดาได้ถูกต้องนักทีเดียว

จนกระทั่งได้มีการคิดค้น “Fujita Intensity Scale” ออกแบบโดย ดร. Tetsuya Theodore Fujita ใน 1971 ผู้ที่ได้แนะนำแนวคิดสำหรับการวัดลมพายุทอร์นาโดด้วยความช่วยเหลือของเพื่อนร่วมงาน Allen Pearson เขาได้สร้างสิ่งที่จะเรียกว่า “Fujita Scale” ในปี 1973 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นตัวย่อเช่น F1, F2 หรือ F3 สเกลนี้มีมีพื้นฐานมาจาก Beaufort Scale สำหรับ F1 ในสเกลของเขาสอดคล้องกับระดับต่ำสุดของ B12 ในระดับ Beaufort Scale และต่ำสุดของ F12 สอดคล้องกับความเร็วของเสียงที่ระดับน้ำทะเล ในทางปฏิบัติแล้วพายุทอร์นาโดจะถูกกำหนดหมวดหมู่แค่ใน F0 ถึง F5 เท่านั้น

No Comments