พายุหมุนเขตร้อน คือ พายุหมุนประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นจากภูมิอากาศเขตร้อน ส่วนใหญ่แล้ว พายุประเภทนี้มักเกิดขึ้น ในบริเวณละติจูด 5 – 20 องศาเหนือและใต้ โดยพายุหมุนนี้ถือกำเนิดขึ้นเหนือพื้นมหาสมุทรอันแสนอบอุ่น และมีอุณหภูมิสูงกว่า 26 – 27 องศาขึ้นไป จากการอาศัยแรงเหวี่ยงรวมทั้งจากการหมุนรอบตัวเองของโลก หรือ Coriolis Force ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ อันก่อให้เกิดพายุหมุนตลอดเวลา ซึ่งแรงเหวี่ยงนี้จะมีค่าลดน้อยลง เมื่อเข้าใกล้เส้นศูนย์สูตร
พื้นที่ชายฝั่ง จะได้รับผลกระทบมากกว่าเขตอื่น เพราะแหล่งพลังงานหลักของพายุชนิดนี้ ก็คือ น้ำอุ่นจากมหาสมุทร เพราะฉะนั้นพายุจึงมักเกิดขึ้นเมื่ออยู่ใกล้แหล่งน้ำ ส่งผลให้เกิดความเสียหายบริเวณชายฝั่งและอาจก่อเกิดจากลม – ฝนตกหนัก คลื่นทะเลสูง รวมทั้งคลื่นพายุซัดฝั่ง จนกระทั่งอาจเกิดพายุ Tornado ขึ้นมาได้
นอกจากนี้พายุหมุนเขตร้อนยังคงพัดพาอากาศมาจากพื้นที่ขนาดใหญ่ อีกทั้งยังคงทำให้หยาดน้ำฟ้ากระจุกตัวในพื้นที่ขนาดเล็ก ซึ่งผลตามมาก็คือ ก่อให้เกิดฝนตกหนักอย่างรุนแรงจนกระทั่งแม่น้ำล้นออกมา ทางยาวสูงสุด 40 กิโลเมตรจากบริเวณแนวชายฝั่ง มากเกินกว่าปริมาณน้ำที่บรรยากาศในท้องถิ่นมีอยู่มาก
จัดเป็นพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งมีความเร็วลมต่ำที่สุด มีอัตราเร็วลมสูงสุด ไม่เกิน 34 นอต หรือ 63 กิโลเมตร/ชั่วโมง จัดเป็นพายุกำลังอ่อน
มีอัตราความเร็วลมระหว่าง 34 – 47 นอต หรือ 63 – 87 กิโลเมตร/ชั่วโมง จัดว่ามีกำลังแรงปานกลาง
มีความเร็วลมระหว่าง 48 – 63 นอต หรือ 88 – 118 กิโลเมตร/ชั่วโมง จัดเป็นพายุกำลังแรง
พบมากในประเทศญี่ปุ่น มีความน่ากลัวมาก จัดเป็นพายุที่มีความเร็วลมตั้งแต่ 64 นอต หรือ 119 กิโลเมตร/ชั่วโมงขึ้นไป จัดเป็นพายุที่มีกำลังแรงมากสุด
โดย พายุไต้ฝุ่น เป็นชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นในแปซิฟิกตะวันตก อีกทั้งยังลากยาวมาจนถึงในทะเลจีนใต้และอ่าวไทยอีกด้วย นอกจากนี้พายุหมุนเขตร้อนถ้าเกิดในบริเวณมหาสมุทรอื่นๆ ก็มีชื่อเรียก รวมทั้งการแบ่งประเภทความรุนแรงของพายุที่แตกต่างกันไป เช่น ถ้าเกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทรอินเดียฝั่งอันดามัน จะมีชื่อเรียกพายุหมุนซึ่งมีอัตราเร็วลมสูงสุดตั้งแต่ 63 กิโลเมตร/ชั่วโมงว่า พายุ Cyclone หากแต่ถ้าเกิดขึ้นบริเวณชายฝั่งทวีปออสเตรเลีย จะเรียกพายุหมุนที่มีความเร็วลมเกิน 119 กิโลเมตร/ชั่วโมง ว่าพายุ Cyclone รุนแรง ส่วนพายุหมุนเขตร้อนเกิน 64 นอต และเกิดขึ้นในมหาสมุทร Atlantic มีชื่อเรียกว่าพายุ Hurricane
No Comments