ภัยพิบัติมหากาฬจากพายุทอร์นาโด

ภัยพิบัติมหากาฬจากพายุทอร์นาโด

ภัยพิบัติมหากาฬจากพายุทอร์นาโด

พายุทอร์นาโด หนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติอันรุนแรงที่เราอาจเคยได้ยินจากทางสื่อต่างๆ ความรุนแรงของพายุชนิดนี้มีตั้งแต่เกิดความเสียหายเล็กน้อยจนสามารถพัดพาบ้านทั้งหลัง รถทั้งคันให้ปลิวว่อนไปกับตา การเกิดพายุทอร์นาโดนั้นมาจากกลุ่มของมวลอากาศเย็นลอยเข้าไปใต้มวลอากาศที่ร้อนกว่า ทำให้เกิดการหมุนเวียนอากาศกันและรวดเร็วรุนแรงขึ้น ยิ่งจุดศูนย์กลางนั้นจะเป็นกระแสลมที่หมุนเร็วที่สุด ยิ่งเร็วมากเท่าไรยิ่งก่อให้เกิดความสูญเสียได้มากเท่านั้น จึงได้ตั้งชื่อพายุชนิดนี้ว่า ทอร์นาโด มาจากภาษาสเปนซึ่งแปลว่า การหมุนเป็นเกลียว พายุชนิดนี้จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางการหมุนที่ไม่กว้างแต่จะรุนแรง มีอัตราความเร็วของการหมุนได้ถึง 300-500 ไมล์ต่อชั่วโมง ความเร็วขนาดนี้หากผ่านไปในมหาสมุทรสามารถหอบเอาเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ให้พลิกคว่ำหรือไปไกลจากจุดที่อยู่ได้เป็นไมล์ หากไปบนบกก็จะทำลายทุกที่ ที่มันหมุนผ่านให้ราบเป็นหน้ากลอง ซึ่งถือเป็นพายุที่ร้ายแรงที่สุด

tornado-filed

บริเวณที่เกิดพายุทอร์นาโดบ่อยครั้งนั่นก็คือสหรัฐอเมริกา รองลงมาคือออสเตรเลีย เพราะสภาพภูมิประเทศที่มักจะเกิดลมร้อนกับลมเย็นปะทะกันได้ง่ายในบริเวณทุ่งเรียบ ทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาประสบกับภัยพิบัติจากพายุทอร์นาโดบ่อยครั้ง โดยมันสามารถทำลายชีวิตผู้คนนับหมื่น และทรัพย์จำนวนหลายสิบล้านร้อยล้านให้พังพินาศสูญหายไปกับตาเพียงช่วงระยะเวลาอันรวดเร็ว

สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกานั้นโดยเฉลี่ยปีหนึ่งจะเกิดพายุทอร์นาโดถึงราว 770 ครั้งเลยทีเดียว โดยเฉพาะบริเวณที่ราบทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐโอกลาโฮมา มิสซูรี่ แคนซัส และเนบราสกา มักเกิดขึ้นราวเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน จนมีชื่อเรียกกล่าวขานว่า ช่องทางทอร์นาโด

tornado-image-shock

เมื่อเกิดภัยพิบัติจากทอร์นาโดขึ้นบ่อยครั้ง นักอุตุนิยมวิทยาจึงได้พยายามหาวิธีที่จะศึกษาข้อมูลเพื่อสามารถระบุเวลาเกิดของพายุได้แน่นอน จะได้ป้องกันภัยได้ทัน แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้นอกจากอาศัยการคาดการณ์ เพราะพายุชนิดนี้เกิดขึ้นรวดเร็วรุนแรงมาก นักอุตุนิยมวิทยาจึงให้ข้อสังเกตว่าหากมีพายุฝนฟ้าคะนองหนักๆ แล้วตามมาด้วยลูกเห็บก้อนโตตกลงมาให้ระวังไว้ ถึงแม้ไม่เกิดพายุทอร์นาโดก็จะเกิดพายุที่มีความรุนแรงแน่นอน

ดังนั้น ประชาชนจึงควรระมัดระวังอยู่เสมอเพื่อความปลอดภัย ควรมีการติดตามการประกาศข่าวหรือพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอยู่เสมอ เตรียมซ่อมแซมบำรุงอาคารสถานที่พักอาศัยให้มั่นคงแข็งแรง ไฟฉายและเทียนในกรณีที่ไฟดับ และหากเกิดขึ้นควรตั้งสติให้ดี ไม่ต้องตื่นตระหนก เพื่อให้สามารถรับมือกับภัยพิบัติได้ทันท่วงที

No Comments