รู้จักกับพายุต่างๆ
พายุ เป็นสิ่งที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศด้วยความรุนแรง รวดเร็ว สาเหตุหลักมาจากสภาพอากาศของ 2 บริเวณมีความแตกต่างกันมาก อากาศร้อนจึงค่อยๆ ลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากแนวราบอุณหภูมิต่ำกว่าจึงเข้ามาแทนเกิดการหมุนของอากาศจนทำให้กลายเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มักสร้างความเสียหายให้กับสิ่งของบ้านเรือน ผู้คน ป่า ต้นไม้ สัตว์น้อยใหญ่อีกเป็นจำนวนมาก แต่สังเกตหรือไม่ว่าชื่อพายุแต่ละแบบทำไมเรียกประเภทต่างกัน ลองมาทำความเข้าใจกับประเภทของความรุนแรงเหล่านี้จะได้รู้ว่าเหตุใดจึงเรียกเช่นนั้น
ทำความรู้จักกับพายุประเภทต่างๆ
- พายุฝนฟ้าคะนอง – ส่วนใหญ่เกิดบริเวณอากาศร้อนพร้อมด้วยความชื้นมากพอควร มักเกิดในแถบเส้นศูนย์สูตร พออากาศได้รับความร้อนและลอยตัวสูงขึ้น มีปริมาณไอน้ำมากพอ อุณหภูมิลดลง เกิดเป็นการกลั่นควบแน่นของไอน้ำ มักมีลงแรม ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง ฝนตกหนัก
- พายุหมุนเขตร้อน – ก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำตรงเขตร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตร มักเกิดจากผิวน้ำทะเลและมหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงกว่า 27 องศาเซลเซียส เป็นพายุหมุนขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางราว 100 กม. ขึ้นไป มาพร้อมลมพัดอย่างรุนแรง หมุนทวนเข็มนาฬิกาถ้าเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร หมุนตามเข็มนาฬิกาถ้าเกิดใต้เส้นศูนย์สูตร การพิจารณาความรุนแรงขึ้นอยู่กับใกล้ศูนย์กลางพายุ มีดังนี้
- ดีเปรสชัน มาจากพายุโซนร้อนความเร็วลดลงไม่ถึง 63 กม./ชม. มีฝนฟ้าคะนองธรรมดา ฝนตกหนัก ลมกรรโชกบ้าง เกิดน้ำท่วมได้แต่ทำลายบ้านเรือนไม่ได้
- โซนร้อน มาจากพายุหมุนเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังขณะเคลื่อนในทะเล ความเร็วจุดศูนย์กลางเมื่อเข้าฝั่งราว 63 กม./ชม. ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 118 กม./ชม. ทำลายบ้านเรือนไม่แข็งแรงได้ กิ่งไม้หักโค่น น้ำท่วม ฝนตกหนักทั้งวันทั้งคืน
- ไต้ฝุ่นหรือเฮอริเคน – ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 118 กม./ชม. ขึ้นไป มีระดับความรุนแรงมากสุดในบรรดาพายุหมุนเขตร้อน เกิดความเสียหายแก่บ้านเรือน เสาไฟ ต้นไม้ หักโค่น คลื่นทะเลแรงจัด อันตรายต่อการเดินเรือ มักเกิดจากจุดศูนย์กลาง เป็นบริเวณความกดอากาศต่ำสุด
- ทอร์นาโด – เกิดจากลมร้อนและลมเย็นมาเจอกันจนเกิดเป็นลมหมุน มีได้ทั้งทะเลและบนบก ประเทศที่มักเจอบ่อยๆ คือ สหรัฐฯ เพราะสภาพภูมิประเทศค่อนข้างเอื้ออำนวยมาก สามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบแต่พบบ่อยคือทรงกรวยหมุนตัวลงมาบนแผ่นดินเป็นเกลียว เนื้อที่เล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยแต่หมุนเร็วมาก ความเร็วจุดศูนย์กลางเร็วสุดอาจเร็วได้ถึง 500 กม./ชม. ถือว่ารุนแรงและอันตรายสุดๆ ในบรรดาทั้งหมด
No Comments